วันที่ 6 ก.ย. 2566 นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แถลงว่า คณะกรรมการป.ป.ช.ชี้มูลความผิดนายชาญวิทย์ วสยางกูร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร พร้อมพวก กรณีดำเนินการออกประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ด้านพืช) โดยมิชอบ และร่วมกันทุจริตการใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อจัดซื้อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน(ด้านพืช)ของอ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร ประจำปีงบประมาณ 2553-2555 จำนวน 10 ภัย หรือ 10 ครั้ง
ป.ป.ช.ร่วมลงนาม 51 หน่วยงาน ขับเคลื่อนธรรมาภิบาล หวังร้องเรียนทุจริตภาครัฐลดลง
เปิดข้อมูลสาธารณะให้ตรงจุดปราบโกง
สืบเนื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติมอบหมายคณะไต่สวนเบื้องต้นเพื่อดำเนินการไต่สวนเบื้องต้น กรณีกล่าวหา นายชาญวิทย์ วสยางกูร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร พร้อมพวก กรณีดำเนินการออกประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ด้านพืช) โดยมิชอบ และร่วมกันทุจริตการใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อจัดซื้อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ด้านพืช) ของอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ประจำปีงบประมาณ 2553 – 2555 จำนวน 10 ภัย หรือ 10 ครั้ง
ข้อเท็จจริงจากการไต่สวนปรากฏว่า ปีงบประมาณ 2553 – 2555 อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ได้รับรองภัยและรายงานเหตุด่วนสาธารณภัยการเกิดโรคหรือแมลงศัตรูพืชระบาดในพืชชนิดต่าง ๆ ไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร เพื่อขอให้พิจารณาประกาศให้พื้นที่อำเภอดอนตาลเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน โดยมีนายบุญช่วย น้อยสันเทียะ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดมุกดาหาร เป็นผู้พิจารณา และทำความเห็นว่าเป็นไปตามระเบียบฯ และหลักเกณฑ์แล้วจึงเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหารเพื่อพิจารณาประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน รวมจำนวน 10 ครั้ง
ต่อมาปี 2556 สำนักตรวจสอบพิเศษภาค 5 จังหวัดอุบลราชธานี ได้เข้าตรวจสอบการใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ด้านพืช) ของที่ทำการปกครองอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร แล้วพบว่า การรับรองภัย การประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินในเขตพื้นที่อำเภอดอนตาล
ในปีงบประมาณ 2553 – 2555 จำนวน 10 ครั้ง ดังกล่าว มีการจัดทำเอกสารหลักฐานอันเป็นเท็จ ทั้งที่ไม่มีภัยพิบัติฯ เกิดขึ้นจริง โดยในการจัดสรรวงเงินทดรองราชการปรากฏว่าผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร ได้พิจารณาอนุมัติจัดสรร วงเงินทดรองราชการเต็มจำนวนตามที่ที่ทำการปกครองอำเภอดอนตาลขอมาทุกครั้ง รวม 10 ครั้ง เป็นเงินทั้งสิ้น 165,467,260 บาท ส่วนการจัดซื้อสารเคมีของที่ทำการปกครองอำเภอดอนตาล พบว่า ในรายงานขออนุมัติซื้อ10 ครั้ง มีการระบุชื่อผู้ขายไว้ล่วงหน้า 7 ครั้ง และมีการซื้อในราคาที่สูงกว่าราคาท้องตลาด คณะกรรมการจัดหาเจรจาและต่อรองราคาไม่ได้ทำการสืบราคาและไม่ได้เจรจาต่อรองราคากับผู้ขาย โดยราคาที่ผู้ขายเสนอในแต่ละครั้ง จะเท่ากับจำนวนงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร จึงน่าเชื่อว่าการประกาศให้เขตพื้นที่ อำเภอดอนตาล เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ด้านพืช)
เมื่อปีงบประมาณ 2553 – 2555 จำนวน 10 ครั้ง ดังกล่าวมีเจตนาประกาศภัยพิบัติฯ เพื่อให้มีการนำเงินทดรองราชการ (ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งตั้งไว้ที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดมุกดาหาร อยู่ในอำนาจของผู้ว่าฯ สำหรับการเกิดภัยแต่ละครั้งหรือแต่ละเหตุการณ์ครั้งละ/ภัยละ 50 ล้านบาท) มาจัดซื้อสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยเล็งเห็นผลประโยชน์อันเกิดจากส่วนต่างของราคา ที่กำหนดให้จัดซื้อและราคาตลาดทำให้ราชการได้รับความเสียหาย
คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้ว มีมติดังนี้
1. การกระทําของนายชาญวิทย์ วสยางกูร มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 มาตรา 157 ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 10 มาตรา 11 และมาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 มาตรา 90 และมาตรา 91 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 123/1 (ปัจจุบันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172) และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง
2. การกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัดและระดับอำเภอ มีมูลความผิดทางอาญา และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรง หรือข้อกล่าวหาตกไป ตามแต่พฤติการณ์แห่งกรณี
3. การกระทำของกลุ่มเอกชนผู้ขายสารเคมีที่มีนายเกรียงไกร วรรณเสริมสกุล เป็นตัวการมีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 11 และมาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86
ให้ส่งรายงาน สำนวนการไต่สวน เอกสารหลักฐาน สำเนาอิเล็กทรอนิกส์ และคำวินิจฉัยไปยังอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินคดีอาญาในศาลซึ่งมีเขตอำนาจ ส่งรายงาน สํานวนการไต่สวน เอกสารหลักฐาน และคําวินิจฉัยไปยังผู้บังคับบัญชา เพื่อดำเนินการทางวินัย ตามฐานความผิดดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 91 (1) (2) และมาตรา 98 แล้วแต่กรณีต่อไป รวมทั้งให้แจ้งผู้บังคับบัญชาดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจเพื่อให้มีการชดใช้ค่าเสียหาย ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. 2539 และให้แจ้งข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการกระทำของกลุ่มบริษัทเอกชนให้กรมบัญชีกลางดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไปด้วย
โปรแกรมวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย AVC 2023 ไทย พบ จีน รอบชิงชนะเลิศ
ประกาศฉบับที่ 21 เตือน! 34 จังหวัด “ฝนตกหนักถึงหนักมาก”
ออกหมายจับ "อิทธิพล คุณปลื้ม" คดีออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารมิชอบ
นอกจากนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดนายสุรพล สายพันธ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมพวก กรณีทุจริตในการจ่ายเงินทดรองราชการเพื่อจัดซื้อสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ด้านพืช) อำเภอเมืองอุบลราชธานีจังหวัดอุบลราชธานี ปีงบประมาณ 2555 โดยไม่มีภัยระบาดฉุกเฉินเกิดขึ้นจริง และเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มเอกชนผู้ประกอบการบางราย
สืบเนื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการไต่สวน เพื่อดำเนินการไต่สวนกรณีกล่าวหานายสุรพลสายพันธ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี กับพวก รวม 37 ราย กรณีร่วมกันทุจริตในการจ่ายเงินทดรองราชการเพื่อจัดซื้อสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ด้านพืช) ของอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ปีงบประมาณ 2555
ข้อเท็จจริงจากการไต่สวนปรากฏว่า ในพื้นที่อำเภอเมืองอุบลราชธานี มีการประกาศภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินด้านพืชและจัดสรรวงเงินทดรองราชการเพื่อจัดซื้อสารเคมีกำจัดโรคพืช ระหว่างปีงบประมาณ 2553 – 2555 รวมทั้งสิ้น 21 ครั้ง เป็นการประกาศภัยในปีงบประมาณ 2555 (คดีนี้) จำนวน 7 ครั้ง ซึ่งการใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ปีงบประมาณ 2555 เป็นการประกาศภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ด้านพืช) โดยมิชอบ
เนื่องจากไม่ได้เกิดการระบาดรุนแรงของโรคในพื้นที่ แต่เป็นการเกิดโรคพืชตามปกติของฤดูกาล และคณะกรรมการจัดหาเจราจาและต่อรองราคาไม่ได้ทำการสืบราคาและไม่ได้เจรจาต่อรองราคากับผู้ขาย โดยราคาที่เสนอในแต่ละครั้งจะเท่ากับจำนวนงบประมาณที่ได้รับจัดสรรจากผู้ว่าราชการจังหวัด และในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยฯ คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ (ก.ช.ภ.อ.) ไม่ได้ดำเนินการสำรวจความเสียหาย ไม่ได้สำรวจความต้องการรับความช่วยเหลือด้านต่าง ๆ และไม่ได้รายงานผลสำรวจความเสียหายจากภัยพิบัติฯ
รวมทั้งไม่ได้มีการประชุม ก.ช.ภ.อ. เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย แต่เป็นการจัดซื้อสารเคมีตามชนิด จำนวน ราคา และปริมาณตามคำสั่งการของนายสุรพล สายพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีราคาสูงกว่าท้องตลาดมากถึง 5.7 – 10 เท่า เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการกลุ่มของนายเกรียงไกร วรรณเสริมสกุล นอกจากนี้ยังตรวจสอบพบเส้นทางการเงินที่กลุ่มของนายเกรียงไกร วรรณเสริมสกุล โอนให้แก่นางนฤมล มะลิวัลย์ เป็นเงินทั้งสิ้น 4,280,100 บาทการกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการในปีงบประมาณ 2555 รวมทั้งสิ้น 539,245,050 บาท
คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้ว มีมติ ดังนี้
1. การกระทำของนายสุรพล สายพันธ์ มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 มาตรา 151 มาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 และมาตรา 91 ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับ การเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 11 และมาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 และมาตรา 91 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 123/1 (ปัจจุบันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 และมาตรา 91 และ มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง
2. การกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัดและระดับอำเภอ มีมูลความผิดทางอาญา และความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรง หรือข้อกล่าวหาตกไป ตามแต่พฤติการณ์แห่งกรณี
3. การกระทำของนายเกรียงไกร วรรณเสริมสกุล มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 มาตรา 149 และมาตรา 151 ประกอบมาตรา 86 และมาตรา 91 ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 11 และมาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 และมาตรา 91 และกลุ่มเอกชนที่เกี่ยวข้อง มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้ส่งรายงาน สำนวนการไต่สวน เอกสารหลักฐาน สำเนาอิเล็กทรอนิกส์ และคำวินิจฉัยไปยังอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินคดีอาญาในศาลซึ่งมีเขตอำนาจ ส่งรายงาน สํานวนการไต่สวน เอกสารหลักฐาน และคําวินิจฉัยไปยังผู้บังคับบัญชา เพื่อดำเนินการทางวินัย ตามฐานความผิดดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 91 (1) (2) และมาตรา 98 แล้วแต่กรณีต่อไป
รวมทั้งให้แจ้งผู้บังคับบัญชาดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจเพื่อให้มีการชดใช้ค่าเสียหาย ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และให้แจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำของกลุ่มบริษัทเอกชนให้กรมบัญชีกลางดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไปด้วย