ต้นเดือนที่ผ่านมา เราได้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญจากราชวงศ์ญี่ปุ่น นั่นคือ การเปิดบัญชีอินสตาแกรม เพื่อเพิ่มช่องทางสื่อสารกับคนรุ่นใหม่ แต่ผู้เชี่ยวชาญไม่เชื่อว่าการก้าวเข้าสู่โลกโซเชียลครั้งนี้ จะพลิกโฉมหน้าราชวงศ์ที่ขึ้นชื่อเรื่องความสันโดษได้มากนัก
ย้อนไปในอดีต ชาวญี่ปุ่นยกย่องเชิดชูองค์จักรพรรดิ ในฐานะ “สมมติเทพ” หรือผู้ที่ถือว่าสืบเชื้อสายจากเทพเจ้า แต่สถานะดังกล่าวสูญสิ้นไปพร้อมกับความพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเปิดทางให้สหรัฐฯ เข้ามาจัดการการเมืองในญี่ปุ่น
รัฐธรรมนูญใหม่ที่ร่างขึ้น ลดบทบาทของราชวงศ์และจักรพรรดิ ลบคำว่า "สมมติเทพ" ออกไป คงไว้เพียงสถานะสัญลักษณ์ของประเทศในฐานะมนุษย์ ที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
ปัจจุบัน ญี่ปุ่นอยู่ในรัชสมัยเรวะของจักรพรรดินารุฮิโตะ สมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ที่ 126 แห่งราชวงศ์ยามาโตะ หรือราชวงศ์เบญจมาศ ซึ่งถือเป็นราชวงศ์ที่มีอายุยืนยาวที่สุด ที่ยังคงสืบเชื้อสายมาจนถึงปัจจุบัน โดยตามตำนานของญี่ปุ่น เชื่อว่ามีอายุมากถึง 2,683 ปี
เมื่อครั้งเสด็จขึ้นครองราชย์ 5 ปีก่อน จักรพรรดินารุฮิโตะ ซึ่งถือเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีพระจริยวัตรแตกต่างจากจักรพรรดิรุ่นก่อน ๆ ทรงรับปากจะทำให้สถาบันจักรพรรดิญี่ปุ่นเข้ากับสังคมยุคใหม่ และกระแสโลกในศตวรรษที่ 21
และเมื่อวันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา ราชวงศ์ญี่ปุ่นสร้างความฮือฮาด้วยการสมัครใช้งานบัญชีอินสตาแกรม หลายคนคิดว่านี่คงเป็นมุกตลกรับวัน April Fools’ Day แต่ปรากฏว่าเป็นเรื่องจริง
แม้จะเป็นก้าวสำคัญ แต่ก็ถือว่าค่อนข้างช้าเมื่อเทียบกับราชวงศ์วินด์เซอร์ของอังกฤษ ที่มีบัญชีอินสตาแกรมมานานมากกว่า 10 ปีแล้วคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
แอนดรูว์ ฮิวส์ นักวิเคราะห์ด้านโซเชียลมีเดีย ชี้ว่า ราชวงศ์ญี่ปุ่นน่าจะเป็นราชวงศ์สุดท้ายในโลกที่ยังไม่เปิดรับเต็มที่ให้กับยุคดิจิทัล แต่ความเคลื่อนไหวล่าสุด สะท้อนให้เห็นแล้วว่า การปรับตัวเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
แต่ใครที่คาดหวังจะติดตามเบื้องลึกเบื้องหลัง หรือมุมมองชีวิตส่วนพระองค์ของราชวงศ์ญี่ปุ่น อาจจะต้องผิดหวัง เช่นเดียวกับแฟนคลับราชวงศ์รายหนึ่งที่โพสต์ว่า "ตอนได้ยินว่าราชวงศ์เล่นไอจี ฉันรีบเสิร์ชหาทันที แน่นอนว่าองค์พระจักรพรรดิไม่ได้โพสต์เรื่องส่วนพระองค์ เช่น โชว์พระกระยาหารกลางวันวันนี้ หรืออะไรแบบนั้นอยู่แล้ว"
ในบรรดาโพสต์มากกว่า 20 โพสต์ในไอจี ล้วนเป็นภาพและคลิปที่เกี่ยวข้องกับพระราชกรณียกิจล่าสุดของสมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะ สมเด็จพระจักรพรรดินีมาซาโกะ และเจ้าหญิงไอโกะ พระธิดา พระชันษา 22 ปี ไม่มีรูปภาพในอิริยาบถสบาย ๆ เป็นกันเอง ซึ่งถือว่าต่างกับสไตล์การโพสต์คอนเทนต์ของไอจีราชวงศ์อังกฤษ
หากเลื่อนดูฟีดไอจีราชวงศ์ญี่ปุ่น จะเห็นว่ามู้ดแอนด์โทนค่อนข้างเป็นทางการ อาจจะมีภาพต้นไม้อย่างซากุระหรือบอนไซโผล่มาบ้าง รวมถึงรอยยิ้มของสมเด็จพระจักรพรรดิและพระจักรพรรดินี ที่พอจะทำให้บรรยากาศโดยรวมดูผ่อนคลายขึ้น
เจฟฟรีย์ ฮอลล์ ศาสตราจารย์ด้านญี่ปุ่นศึกษา ประจำมหาวิทยาลัยคันดะ มองว่า คอนเทนต์ในไอจีราชวงศ์ญี่ปุ่นดูเรียบและระมัดระวังเกินไป ไม่มีสิ่งดึงดูดใจ โทนสีโดยรวมคือสีเบจและสีเทา รูปที่นำมาโพสต์ก็ไม่แตกต่างจากรูปในข่าวแจกของสำนักพระราชวัง
แคปชั่นที่ใช้ ซึ่งมีแค่ภาษาญี่ปุ่น เป็นข้อความอธิบายภาพเพียงอย่างเดียว จะไม่มีข้อความส่วนพระองค์ และไม่ต้องคาดหวังว่าจะมีตัวอักษรย่อ เพื่อแสดงให้เห็นว่าโพสต์นั้น ๆ เป็นแถลงการณ์โดยตรงจากจักรพรรดิหรือสมาชิกราชวงศ์พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง เหมือนของราชวงศ์อังกฤษ และที่สำคัญคือ มีการปกป้องภาพลักษณ์ของราชวงศ์อย่างจริงจัง โดยคอมเมนต์ถูกปิดไว้ เพื่อป้องกันกระแสโซเชียล ซึ่งเป็นสิ่งที่่ราชวงศ์วินด์เซอร์เผชิญอยู่บ่อยครั้ง
แต่หากจะเปิดให้แสดงความคิดเห็นได้ ก็คาดว่าคงไม่มีประเด็นดราม่าหรือคอมเมนต์วิพากษ์วิจารณ์รุนแรง เพราะความสัมพันธ์ระหว่างคนญี่ปุ่นกับราชวงศ์นั้นอยู่ในรูปแบบที่ค่อนข้างเคารพ ยกย่องเชิดชู และหากดูโดยรวมแล้ว ภาพลักษณ์ของราชวงศ์ญี่ปุ่นก็ยังน่าเชื่อถือ และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับพสกนิกร
แต่ถ้ามองในมุมของนักวิเคราะห์โซเชียลมีเดีย นี่เป็นการบริหารจัดการภาพลักษณ์ที่ค่อนข้างหลักแหลมและรัดกุม ราชวงศ์ไม่จำเป็นต้องโพสต์คอนเทนต์ต่อเนื่อง คัดเฉพาะโพสต์สำคัญ ๆ เท่านั้น และไม่เปิดให้มีการแสดงความเห็นใด ๆ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จและภาพ AIคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ทั้งนี้ ราชวงศ์ญี่ปุ่นสื่อสารกับประชาชนผ่านช่องทางแบบดั้งเดิมมาตั้งแต่ยุคเมจิ ทั้งการใช้ภาพถ่ายทางการ หนังสือพิมพ์ นิตยสารรายสัปดาห์ และรายการโทรทัศน์
มาซาฟูมิ โมเด็น ศาสตราจารย์ด้านญี่ปุ่นศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย วิเคราะห์ว่า ข้อดีของช่องทางเหล่านี้ คือ สามารถควบคุมและคัดกรองเฉพาะเนื้อหาเชิงบวกได้ แต่ข้อเสียคือ ทำให้สถานะราชวงศ์ดูห่างไกลจากประชาชนและจับต้องได้ยาก
แต่ถ้าดูจากรูปแบบการใช้อินสตาแกรมของราชวงศ์ญี่ปุ่นแล้ว จะเห็นว่าแม้ช่องทางเปลี่ยนไป แต่ยังเป็นการคงกลยุทธ์เดิม และรักษาระยะห่างกับประชาชนเอาไว้